แพรี่ ด็อก (Prairie Dog)
สัตว์เลี้ยงตัวเล็กที่มีลักษณะหน้าตาคล้ายกระรอก แต่ก็มีเสียงเห่าคล้ายสุนัขตัวเล็ก เพื่อป้องกันศัตรู แพรี่ ด็อก ก็เลยมีชื่อเรียกแบบไทยๆ ว่า “กระรอกหมา” แถมยังเป็นกระรอกที่ไม่ได้อยู่บนต้นไม้ ก็เลยมีอีกชื่อว่า “กระรอกดิน” ด้วย แต่ไม่ว่าจะชื่อไหน คนไทยก็หลงรักเจ้าตัวน้อยนี่กันเยอะเลยทีเดียว
เจ้าแพรี่ ด็อก ไม่ได้เป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์มาตั้งแต่เกิด เพราะถิ่นกำเนิดของมันอยู่ไกลบ้านเรา แถบทุ่งหญ้าแพรี่ ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ แต่ด้วยความน่ารัก ฉลาด ขี้อ้อน แถมยังเป็นสัตว์สังคม ที่ทำให้มนุษย์หลงรักได้ง่ายสุดๆ ชะตากรรมของแพรี่ ด็อกในยุคนี้เลยกลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์
ถึงแม้จะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในตระกูลฟันแทะเช่นเดียวกับพวกกระรอก หนูตะเภา หรือแฮมสเตอร์ แต่จะเลี้ยงด้วยวิธีเดียวกับสัตว์เหล่านั้นไม่ได้เลย อย่างที่บอกไปแล้วว่า แพรี่ ด็อก เป็นสัตว์สังคม ซึ่งโดยธรรมชาติจะอยู่รวมตัวกันเป็นฝูง การนำเจ้าตัวเล็กนี่มาเลี้ยง นั่นหมายความว่า คุณต้องมีเวลาดูแลเค้าอย่างมาก ไม่ก็ต้องหาเพื่อนเล่นให้ ด้วยการเลี้ยงเป็นคู่ เพราะแม้จะเป็นสัตว์ แต่ก็เกิดความเครียดได้
อาหารการกิน
การดูแลเรื่องโภชนาการของแพร์รี่ด็อกนั้นนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและการมีชีวิตที่แข็งแรงยืนยาว แพร์รี่ด็อกเป็นสัตว์กินพืช ที่กินหญ้าเป็นอาหารหลักมากกว่า 80-95% ของตลอดช่วงชีวิต
เป็นความคิดและการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง ที่ให้เขากินผักสด ผลไม้ ขนม เมล็ดพืช หรืออาหารเสริมต่างๆอย่างตามใจ เพราะนั่นจะทำให้เขามีช่วงชีวิตที่สั้นลง การได้รับโภชนาการที่ผิด ถ้าไม่ส่งผลในทันที ก็จะส่งผลในระยะยาว โดยจะเห็นได้ชัดเจนที่สุดเมื่อเขามีอายุราว 4-6 ปี และก็อาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียงเท่านั้น จากสถิติแพร์รี่ด็อกที่ได้รับโภชนาการที่ถูกต้อง สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานสูงสุดถึง 17 ปีเลยทีเดียว
เรื่องง่ายๆที่ควรคำนึงถึงที่สุดสำหรับการทำให้แพร์รี่อยู่กับเราไปนานๆ คือ “การควบคุมน้ำหนัก”
น้ำหนักมาตรฐานโดยเฉลี่ยของแพร์รี่ด็อก คือ 1 – 1.4 กิโลกรัม
หากน้ำหนักเกิน 1.5 กิโลกรัม นับว่าจัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจ ปอด กระดูก ไขมันอุดตัน ต้องได้รับการดูแลโภชนาการเป็นพิเศษเพื่อลดน้ำหนัก
เนื่องจากระบบทางเดินอาหารของแพร์รี่ไวต่อการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนชนิด ยี่ห้อ หรือการเพิ่ม-ลดปริมาณอาหารนั้น
ควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อไม่ให้เกิดความเครียด ซึ่งอาจะทำให้เกิดแก๊สในกระเพราะอาหารได้
ต้องค่อยๆเปลี่ยนอาหาร โดยลดปริมาณอาหารเติมลงครั้งละ 1/4 แทนที่ด้วยอาหารชนิดใหม่ ซึ่งขั้นตอนนี้ควรใช้เวลาอย่างน้อย 3-4 สัปดาห์
หรือแม้แต่การลดปริมาณอาหารเม็ดลง ก็ต้องค่อยๆลดปริมาณเพื่อให้แพร์รี่กินหญ้ามากขึ้น
ช่วงแรกของการปรับ-เปลี่ยนอาหารนั้น ในบางรายพบว่า แพร์รี่สามารถมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป
เช่น อาการก้าวร้าว ระวนกระวาย เก็บตัว นอนนาน หรือกินอาหารสะสมมากขึ้น เนื่องจากเครียดและวิตกกังวล หากมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเกินไป
เช่น อาการก้าวร้าว ระวนกระวาย เก็บตัว นอนนาน หรือกินอาหารสะสมมากขึ้น เนื่องจากเครียดและวิตกกังวล หากมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเกินไป
ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ แพร์รี่ไม่ยอมกินหญ้า ผู้เขียนเปรียบว่าเหมือนเด็กที่เคยให้กินขนมทุกวัน ก็จะไม่รู้จักกินผัก และไม่ชอบกินของดีที่มีประโยชน์ ผู้ใหญ่ต้องคอยสอนและหัดให้เค้ากินจนเป็นนิสัย ^^
ข้อมูลเกี่ยวกับโภชนาอาหารต่อไปนี้ เป็นสัดส่วนเปรียบเทียบเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจและการกะปริมาณอาหารในแต่ละวันเป็นข้อมูลพื้นฐาน เหมาะสำหรับแพร์รี่ที่มีสุขภาพและพัฒนาการเป็นปกติตามช่วงอายุ
โดยผู้เรียบเรียงได้คำนึงถึงอาหารแต่ละชนิดที่สามารถหาได้ในประเทศไทย และปรึกษานักวิจัยเกี่ยวกับค่าความต้องการสารอาหารตามหลักภูมิศาสตร์
โดยสามารถแบ่งได้หลักๆ 5 ช่วงคือ
1 ช่วงแรกเกิด 1-10 สัปดาห์
2 ช่วงวัยเด็ก 10 สัปดาห์ขึ้นไป – 6 เดือน (หรือเมื่อมีน้ำหนักต่ำกว่า 9 ขีด)
3 ช่วงเจริญเติบโต 6 เดือน – 2 ปี (หากแพร์รี่มีน้ำหนักถึง 9 ขีดแล้ว จะจัดว่าอยู่ในช่วงเจริญเติบโต โดยจะมีพัฒนาการทางร่างกายเต็มที่เมื่ออายุ 2 ปี โดยประมาณ)
4 ช่วงโตเต็มวัย 2 ปีขึ้นไป
5 ช่วงผู้ใหญ่-ชรา ตั้งแต่ 5-6 ปีขึ้นไป
1 ช่วงแรกเกิด 1-10 สัปดาห์
2 ช่วงวัยเด็ก 10 สัปดาห์ขึ้นไป – 6 เดือน (หรือเมื่อมีน้ำหนักต่ำกว่า 9 ขีด)
3 ช่วงเจริญเติบโต 6 เดือน – 2 ปี (หากแพร์รี่มีน้ำหนักถึง 9 ขีดแล้ว จะจัดว่าอยู่ในช่วงเจริญเติบโต โดยจะมีพัฒนาการทางร่างกายเต็มที่เมื่ออายุ 2 ปี โดยประมาณ)
4 ช่วงโตเต็มวัย 2 ปีขึ้นไป
5 ช่วงผู้ใหญ่-ชรา ตั้งแต่ 5-6 ปีขึ้นไป
อาหารที่แนะนำ
– หญ้า
หญ้าที่ดีที่สุดสำหรับแพร์รี่ด็อกคือ หญ้าทิมโมธี ควรเลือกยี่ห้อที่มีคุณภาพสูง และเลือกซื้อถุงขนาดใหญ่ที่สุด เพราะจะมีการหัก ตัด หรือทำให้หญ้าในส่วนที่ดีเกิดความเสียหายน้อยกว่า แพร์รี่ด็อกนั้นไม่ได้กินทุกส่วนของหญ้า โดยจะเลือกกินเฉพาะส่วนที่ดีที่สุดเท่านั้น
ดังนั้นการเปลี่ยนหญ้าใหม่ทุกวันมีความจำเป็นอย่างมาก หญ้าที่เห็นว่ายังเหลืออยู่ มันอาจเป็นเพียงเศษที่เหลือ ทิ้งจากการกินของเขาแล้วเท่ านั้น และการทิ้งหญ้าไว้นานอาจทำใ ห้เกิดเชื้อราได้อีกด้วย ทั้งนี้หญ้าใหม่ๆยังช่วยกระ ตุ้นความอยากอาหารได้ดีกว่า
-อาหารเม็ดอาหารเม็ดที่แนะนำคือ Essentials Oxbow Adult Rabbit เนื่องจากเป็นแหล่งเสริมโปร ตีนที่ดีและยังมีสารอาหารอื่นๆตรงตามคามต้องการของแพร์ รี่ที่สุด การเลือกซื้ออาหารยี่ห้ออื่ นนั้น ควรคำนึงถึงปริมาณไฟเบอร์เป็นหลัก และต้องเป็นอาหารสำหรับกระต่ายเท่านั้น มีความสับสนกระหว่าง อาหารเม็ดของกระต่ายและหนู ที่จริงแล้วส่วนประกอบมีควา มแตกต่างกันมาก แม้คุณค่าทางโภชนาการจะดูใก ล้เคียงกันก็ตาม การเลือกซื้ออาหารกระต่าย แนะนำเป็นสูตรสำหรับกระต่าย โตเท่านั้น ซึ่งแพร์รี่สามารถกินได้ทุก ช่วงอายุ เพราะส่วนมากอาหารเม็ดของกร ะต่ายเล็กนั้นจะมีส่วนผสมขอ งอัลฟาฟ่า
โภชนาการ
ช่วงที่1 อายุต่ำกว่า 10 สัปดาห์
หลังจากหย่านมแม่แล้ว มีความต้องการไฟเบอร์จากหญ้า และยังต้องการโปรตีนเป็นพิเศษ
ไทยประเทศไทยนั้นพบว่า แพร์รี่ที่ถูกนำเข้ามา เกือบทั้งหมดจะมีอายุเกิน 10 สัปดาห์แล้วทั้งสิ้น
แต่หากพบว่าแพร์รี่มีขนาดตัวที่เล็กผิดปกติ(เล็กกว่าฝามือ) หรือมีแนวโน้มว่าจะขาดสารอาหารต้องได้รับโภชนาการเป็นพิเศษอาจต้องใช้หลอดป้อนอาหาร โดยบดอาหารทุกชนิดให้ละเอียด ส่วนผสมดังนี้
1 นม (แนะนำเป็นนมแพะพาสเจอร์ไรส์)
2 หญ้าทิมโมธี
3 อาหารเม็ด Essentials Oxbow Young Rabbit
4 Oxbow critical care
5 มันฝรั่งหวาน
สำหรับแพร์รี่ด็อกอายุมากกว่า 3 เดือน ขึ้นไป ถึง 1 ปียังมีความต้องการโปรตีนอยู่บ้าง- หญ้าทิมโมที 80%
– อาหารเม็ด 1-2 ช้อนโต๊ะ /หรือหญ้าขนสดได้บ้าง 15%
– หนอนนก(แนะนำแบบอบแห้ง 1-2 ตัว/วัน)
อาหารเสริมหรือขนมรางวัล ตามรายการที่อนุญาต 5%
แพร์รี่ด็อกอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ควรได้รับโภชนาการแบบควบคุมน้ำหนัก
*น้ำหนักเฉลี่ยสูงสุดของแพร์รี่ด็อก ต้องไม่เกิน 1.5 กิโลกรัม
การควบคุมน้ำหนัก
ผู้เลี้ยงหลายคนมักบำรุงและเสริมอาหารต่างๆเพื่อนให้เขาอ้วน โดยหารู้ไม่ว่านั้นคือการทำให้เขาตายลงอย่างช้าๆ สิ่งที่ผู้เลี้ยงควรคำนึงถึงคือการทำอย่างไรไม่ให้เขาอ้วนต่างหาก เนื่องจากนิสัยตามธรรมชาติ แพร์รี่จะไม่ออกหากินไกลบ้าน ยิ่งนำมาเป็นสัต์เลี้ยงด้วยแล้ว เขาแทบจะไม่ได้ออกกำลังกายเลย ดังนั้นแค่การกินหญ้าเพียงอย่างเดียวก็ทำให้อ้วนได้โดยที่ไม่ต้องพยายาบำรุง อะไรแต่อย่างใด
ความอ้วนในแพร์รี่นั้นเป็น ปัญหาเงียบที่ไม่ควรมองข้าม เพราะจะนำพามาซึ่งโรคต่างๆมากมาย เช่น โรคหัวใจ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด ปอด โรคตับ-ไต โดยโรคต่างๆนี้มักตรวจพบในแพร์รี่ด็อกที่มีอายุตั้งแต่ 3-4 ปีขึ้นไป อีกทั้งน้ำหนักตัวที่มากเกินมาตรฐานนั้น ยังทำให้เกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้นหากได้รับอุบัติเหตุ เช่น เล็บหลุดจากการการปีนป่าย หรือการตกจากที่สูง
สำหรับแพร์รี่ด็อกอายุ 1 – 6 ปี
ยังมีความต้องการโปรตีนอยู่ บ้าง และต้องอยู่ในโภชนาการควบคุ มน้ำหนัก
– หญ้าทิมโมที 95%
– หนอนนก(แนะนำแบบอบแห้ง 1-2 ตัว/วัน)
– อาหารเม็ด 1 ช้อนชา/ หรือหญ้าขนสดได้บ้าง 5%
*ส่วนการให้อาหารเสริมหรือขนมรางวัลต่างๆนั้น
ขนาดไม่เกิน 1*1 ซม. ปริมาณไม่เกิน 1 ชิ้น 1 ชนิด เพียงปีละ 3-4 ครั้งเท่านั้น
สำหรับแพร์รี่ด็อกอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปมีความต้องการโปรตีนมากขึ้น และต้องอยู่ในโภชนาการควบคุมน้ำหนัก
-หญ้าทิมโมที 95%
-หนอนนก(แนะนำแบบอบแห้ง 1-2 ตัว/วัน)
-อาหารเม็ด 1 ช้อนโต๊ะ /หรือหญ้าขนสดได้บ้าง 3-5%
*ส่วนการให้อาหารเสริมหรือข นมรางวัลต่างๆนั้น
ขนาด 1*1 ซม. ปริมาณครั้งละ 1 ชิ้น 1 ชนิด เพียงปีละ 3-4 ครั้งเท่านั้น
„โรคที่พบในแพรี่ ด็อก - มีโอกาสเป็น โรคพิษสุนัขบ้า ได้ เนื่องจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดที่เอามาเลี้ยงมีโอกาสเป็นพิษสุนัขบ้าได้ทั้งสิ้น ยิ่งถ้านำแพรี่ ด็อก มาเลี้ยงแล้วมีการคลุกคลีกับสุนัข หรือแมว หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ เช่น กระรอก กระต่าย แนะนำให้นำแพรี่ ด็อกไปฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าปีละครั้ง โดยเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 4 เดือนขึ้นไป ในส่วนของผู้ที่เลี้ยงควรจะฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า เพราะเราไม่รู้ว่าเมื่อไรภูมิต้านทานร่างกายเราจะลดลงจนคุมโรคไม่ได้ รวมทั้งวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักร่วมด้วย เพราะมีโอกาสเป็นบาดทะยักได้จากแผลที่ถูกกัด - โรคพยาธิ ควรมีการถ่ายพยาธิทุก 3 เดือน เพราะบางครั้งแพรี่ ด็อก อาจจะไปกินหนอน กินแมลงมา ทำให้อาจมีพยาธิในสำไส้ได้ อีกทั้งมี โอกาสที่จะมาติดคนได้ด้วย จากการจับเล่นกับแพรี่ ด็อก ที่มีพยาธิอยู่ เนื่องจากตามธรรมชาติเมื่อสัตว์ถ่ายจะมีการเลียก้น แล้วสัตว์ก็มาเลียมือเราต่อ มือเราอาจมีไข่พยาธิติดอยู่ เมื่อเอามือหยิบอาหารเข้าปากก็จะได้รับพยาธิเข้าสู่ร่างกายได้ - โรคท้องร่วง เนื่องจากสัตว์ส่วนใหญ่ที่นำเข้ามามักจะมีโรคท้องร่วงแฝงอยู่ โดยสัตว์จำพวกนี้จะเป็นพาหะของโรคท้องร่วง ซึ่งเป็นโรคติดคนได้ ยิ่งถ้าเอามาเลี้ยงแล้วไม่รักษาสุขลักษณะอนามัยที่ดี เช่น ผู้เลี้ยงกินข้าวจานเดียวกับสัตว์ รักมากเอามานอนด้วยกัน มีการนำสัตว์มาจูบ หากร่างกายคนเลี้ยงไม่แข็งแรงก็อาจติดเชื้อจากสัตว์ได้ จึงต้องรักษามั่นทำความสะอาดถาดรองกรง
ที่มา :
http://www.livingdd.com/prairie-dog/
http://www.prairiedogthailand.com/howto/care/food/
http://www.dailynews.co.th/article/280000
http://www.livingdd.com/prairie-dog/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น